ประวัติความเป็นมา

30 มีนาคม 2559 (ผู้ดูแลระบบ) เกี่ยวกับหน่วยงาน

          ศูนย์คอมพิวเตอร์ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2538 ภายใต้ชื่อว่า “ศูนย์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Learning Center : CLC)” ซึ่งผู้ก่อตั้งคืออาจารย์นิพนธ์  บาดกลาง มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาฝึกทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติ สำนักงานอยู่ที่อาคาร 8 (ยะลาพาเลซ) ชั้น 2 ได้รับงบประมาณบำรุงการศึกษาสำหรับปรับปรุงห้องปฏิบัติการ 1 ห้อง และจัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น Powell 486 DX4-100 จำนวน 40 เครื่อง และงบประมาณโครงการการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) เพื่อจัดซื้อเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ (Server) พร้อมซอฟต์แวร์ จำนวน 1 ชุด

          พ.ศ. 2539  ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น Digital Pentium 100 จำนวน 40 เครื่องและเครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์ จำนวน 1 ชุด

          พ.ศ. 2540  ติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และมีการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นผู้ให้เช่าใช้วงจรสื่อสารความเร็วสูง ความเร็ว 64 Kbps ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Digital Pentium 133 จำนวน 40 เครื่องและแม่ข่ายคอมพิวเตอร์พร้อมซอฟต์แวร์ จำนวน 1 ชุด ขยายการให้บริการที่วิทยาเขตแม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี โดยได้รับการสนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎร จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Digital Pentium 133 จำนวน 10 เครื่อง

          พ.ศ. 2541  วางระบบเครือข่ายหลัก (Back Bone) ระยะแรก ด้วยสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ความเร็ว 100 Mbps ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Switching) และเชื่อมต่อไปยังอาคาร 8 แห่ง ได้แก่ อาคาร 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 2 คณะครุศาสตร์ อาคาร 3 คณะวิทยาการจัดการ อาคาร 4 สำนักงานอธิการบดี อาคาร 5 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคาร 6 ศูนย์ภาษาอังกฤษ อาคาร 8 ยะลาพาเลซ (โครงการจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย) และอาคาร 9 ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 

          พ.ศ. 2542  ขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่อาจารย์และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน ระบบ RAS (Remote Access Server) จำนวน 12 คู่สาย ได้รับงบประมาณค่าบำรุงศูนย์คอมพิวเตอร์สำหรับอัพเกรด (Upgrade) เครื่องคอมพิวเตอร์ รุ่น Powell 486 DX4-100 เป็นรุ่น K6-2/350 MHz จำนวน 20 เครื่อง

          พ.ศ. 2543  ย้ายจากอาคารยะลาพาเลซ มาที่อาคาร 7 ซึ่งเป็นอาคารหอสมุดชั้น 2 จัดตั้งเป็น “ศูนย์คอมพิวเตอร์” โดยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสภาประจำมหาวิทยาลัยให้เป็นหน่วยงานที่อยู่ในโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัยมีฐานะเทียบเท่าคณะ มีหน้าที่และภารกิจด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารและสนับสนุนการจัดการศึกษา 

ได้รับงบประมาณเพื่อขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายใยแก้วนำแสง ความเร็ว 100 Mbps ไปยังอาคารสำนักวิทยบริการ ทำการขยายห้องปฏิบัติการสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน 4 ห้อง ทำการปรับเปลี่ยนสภาพเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย ซื้ออุปกรณ์ Router และ Switching ชุดใหม่ ประสิทธิภาพในการให้บริการ เนื่องจากชุดเดิมชำรุด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากฟ้าผ่าบริเวณอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ และยกเลิกสัญญาเช่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจาก NECTEC เปลี่ยนเป็นบริษัท Internet Thailand (Inet)

          พ.ศ. 2544 ขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายใยแก้วนำแสง ความเร็ว 400 Mbps ไปยังอาคาร 20 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ) และความเร็ว 100 Mbps ไปยังอาคารโครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และทำการจัดหาอุปกรณ์เชื่อมต่อ (Switching) ความเร็ว 1,000 Mbps (1 Gbps) จำนวน 2 ชุด โดยติดตั้งที่อาคาร 20 และสำนักวิทยบริการ 

          เดือนตุลาคม ปี 2544 ยกเลิกสัญญาเช่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากบริษัท Internet Thailand เปลี่ยนเป็น UniNet ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของเครือข่ายในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และขยายช่องทางในการสื่อสารภายในประเทศเป็นความเร็ว 2Mbps และต่างประเทศ 512 Kbps ได้รับงบประมาณแผ่นดิน เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN) ขนาด 40 ลูกข่าย พร้อมเครื่องแม่ข่าย 1 ชุด และงบประมาณของค่าบำรุงศูนย์คอมพิวเตอร์ จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ Pentium III จำนวน 90 เครื่อง

          พ.ศ. 2545 เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (IP Star) ความเร็วรับ/ส่งข้อมูล 256/128 Kbps ไปยังวิทยาเขตแม่ลาน ผู้ให้บริการจากบริษัท ซี.เอส.คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายให้บริการการเรียนการสอนจำนวน 60 เครื่อง ทำการเพิ่มประสิทธิภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยทำการอัพเกรด (Upgrade) รุ่น Pentium 100 – 133 เป็นรุ่น Celeron 1.7 GHz จำนวน 50 เครื่อง

          พ.ศ. 2546  เดือนเมษายน – กันยายน 2546 ระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียมที่วิทยาเขตแม่ลาน เกิดขัดข้อง ใช้งานไม่ได้ และได้แจ้ง บริษัท ซี.เอส.คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ยกเลิกสัญญาการให้บริการ

เดือน กรกฎาคม 2546 ทำการเพิ่มประสิทธิภาพในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยทำการอัพเกรด (Upgrade) รุ่น Pentium 100 – 166 และ Powell 486 DX4 เป็นรุ่น Celeron 2.0 , HDD 40 GB, DDR-RAM 128 MB จำนวน 50 เครื่อง ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ รวม 4 ห้อง มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ รวมจำนวน 230 เครื่อง

          พ.ศ. 2547  ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการ โดยการจัดซื้อครุภัณฑ์ Switch  (Gigabit Switch 24 Port) จัดซื้อครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประกอบ CPU Intel Pentium 42.4 GHz, Mainboard Seagate จำนวน 15 ชุด และ Intel Celeron D320  2.40 GHz จำนวน 8 ชุด ขยายและปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำหรับรองรับการให้บริการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอก การสืบค้นข้อมูล สนับสนุนการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานของบุคลากรภายใน  โดยทำการปรับปรุงห้องซ้อมดนตรีชั้น 1 เป็นห้องสำหรับให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ห้อง Wireless) โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 40 เครื่อง และมีประตูกล 1 ทาง รุ่น CM 10 จำนวน 1 ชุด เพื่อนับจำนวนนักศึกษาที่เข้าใช้บริการศูนย์คอมพิวเตอร์ รวมมีห้องปฏิบัติการที่ให้บริการ จำนวน 5 ห้อง 

          พ.ศ. 2548  วันที่ 20 พฤษภาคม 2548 มีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเรื่องการจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยจัดโครงสร้างสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสำนักงานผู้อำนวยการ ประกอบด้วยศูนย์บรรณสารสนเทศ และศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยศูนย์บรรณสารประกอบด้วย ฝ่ายทรัพยากรสารสนเทศและฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อการศึกษา ส่วนศูนย์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยฝ่ายระบบคำสั่ง ฝ่ายระบบเครือข่าย และฝ่ายฝึกอบรม  

ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ยกเลิกการให้บริการคอมพิวเตอร์ ของวิทยาเขตแม่ลาน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ทำการขนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 15 เครื่องพร้อมอุปกรณ์ กลับศูนย์คอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless) ภายในห้องบริการสืบค้นข้อมูลชั้น 1 หอพักนักศึกษา 6 ชั้น และบริเวณหอชาย 5 

ใช้งบประมาณจากค่าบำรุงศูนย์คอมพิวเตอร์ ขยายเส้นทาง โดยการเช่าช่องสัญญาณวงจรอินเทอร์เน็ตเพิ่ม จาก บริษัท TOT ความเร็ว 2 Mbps เพื่อรองรับการใช้งานที่มีผู้ใช้บริการมากขึ้น และเป็นการรองรับระบบ e-office  ที่ติดตั้งใช้งานในเดือนพฤศจิกายน 2548 เพื่อให้บุคลากรภายในใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนระบบเดิมที่ใช้กระดาษและคนเดินเอกสาร รวมทั้งใช้เป็นช่องทางสำรองเมื่อช่องสัญญาณจาก กสท. เกิดปัญหา 

          พ.ศ. 2549  วันที่  23  มิถุนายน  2549   มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยรายภัฏยะลา พ.ศ. 2549  ให้แบ่งส่วนราชการในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นสำนักงานผู้อำนวยการ

          วันที่ 20 ตุลาคม 2549  มีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  เรื่องการจัดโครงสร้างการบริหารงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  ให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน่วยงานระดับกองเพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก  สำนักงานผู้อำนวยการ คือ ศูนย์บรรณสารสนเทศ และ ศูนย์คอมพิวเตอร์  และให้หน่วยงานระดับกองแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยระดับงานดังนี้ สำนักงานผู้อำนวยการประกอบด้วย 1  งาน คือ  งานบริหารทั่วไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ  ประกอบด้วย  3  งาน คือ งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ  งานบริการและเผยแพร่สารสนเทศ งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ส่วนศูนย์คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 งาน  คือ งานบริหารทั่วไป งานระบบเครือข่าย งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และงานบริการและฝึกอบรม    

ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ใช้งบประมาณจากค่าบำรุงศูนย์คอมพิวเตอร์ ในการปรับปรุงห้องควบคุมระบบเครือข่าย ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยการยกพื้น ติดตั้งตู้ RACK สำหรับจัดหมวดหมู่อุปกรณ์กระจายสัญญาณและจัดสายสัญญาณเครือข่ายให้ง่ายต่อการตรวจสอบ ปรับปรุงห้องสำนักงานเป็นห้องประชุม ขนาด 20 ที่นั่ง จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จอ LCD รุ่น CPU Celeron 2.8 , HDD 40 GB, DDR-SDRAM 256 MB จำนวน 20 เครื่อง 

ใช้งบประมาณในโครงการความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกับศูนย์คอมพิวเตอร์การศึกษา หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ จอ LCD รุ่น CPU Celeron 2.8 , HDD 40 GB, DDR-SDRAM 256 MB จำนวน 70 เครื่อง รวมมีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการ จำนวน 315 เครื่อง

          พ.ศ. 2550 ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการให้บริการ โดยจัดสรรงบประมาณ กศ.ปช. 2550 จัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย Dell PowerEdge รุ่น 2850 จำนวน 1 เครื่อง , เครื่องสำรองไฟฟ้า 3000 VA RM 2U 230V จำนวน 1 เครื่อง, ตู้ Rack 19 นิ้ว 42U จำนวน 1 เครื่อง, Switch KVM ขนาด 8 Port Master View รุ่น CS-9138 จำนวน 1 ชุด , จัดซื้ออุปกรณ์กระจายสัญญาณ ยี่ห้อ Allied Telesyn รุ่น AT-FS 709 FC/SC 8 Port จำนวน 1 ตัว และ จัดซื้ออุปกรณ์ยี่ห้อ IBM System X3500 จำนวน 1 เครื่อง

ได้รับงบประมาณแผ่นดิน 2550 จัดซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยไฟล์วอลล์ (Firewall) ยี่ห้อ FORTINET รุ่น Fortigate 3600 A จำนวน 1 ชุด , ระบบตรวจสอบไวรัส (Gateway) ยี่ห้อ Fortigate Antivirus เวอร์ชั่น 7.383 จำนวน 1 ชุด

ได้รับงบประมาณ  บกศ. 2550  ปรับปรุงห้องสำนักงานศูนย์คอมพิวเตอร์ และ จัดซื้อประตูควบคุมออกแบบ 3  ก้านหมุนแบบไม่มีชุดตัวเลข นับจำนวนพร้อมราวจัดทางเดินขนาดความสูง 91 ซม. ยาว 110 ซม. จำนวน 1 เครื่อง

          พ.ศ. 2551  ในเดือนตุลาคม ได้รับงบประมาณสร้างตึกสารสนเทศ ศูนย์คอมพิวเตอร์จึงได้ย้ายที่ทำการแยกเป็น 2 แห่ง คือ ณ สำนักวิทยบริการ ชั้น 3 เป็นห้องควบคุมระบบ และชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการสนับสนุนการสืบค้นข้อมูล จำนวน 70 เครื่อง และ อาคาร 20 ชั้น 4  เป็นสำนักงานศูนย์ฯ และห้องปฏิบัติการสนับสนุนการเรียนการสอนและงานฝึกอบรมทั่วไป  จำนวน 4  ห้อง คือ ห้อง 20-403 จำนวน 37 เครื่อง ห้อง 20-405 จำนวน 40 เครื่อง  ห้อง 20-406 จำนวน 37 เครื่อง และห้อง 20-407 จำนวน 30 เครื่อง

ได้รับงบประมาณ บกศ. 2551 ในการปรับปรุงครุภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐาน Core Switch , Module 1000 Base และงบ กศ.ปช. 2551 จัดซื้อโปรเจ็คเตอร์   2  เครื่อง สแกนเนอร์  1 เครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา 1 เครื่อง โทรศัพท์ระบบ IP-BX และ VOIP 1 ชุด และเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง

          พ.ศ. 2552  ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้เดินระบบอินเทอร์เน็ตและระบบไฟฟ้าในห้องบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น ณ อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนลียีสารสนเทศเพื่อให้บริการให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการโดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการจำนวน  68 เครื่อง

สำนักวิทยบริการได้รับงบประมาณเพื่อปรับปรุงแม่ข่ายกลางตามแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และงบประมาณติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหาร โดยมีศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน  ซึ่งได้มีการติดตั้งเครือข่ายไร้สายเพิ่มขึ้นจำนวน 8  จุด   และขยายพื้นที่ให้บริการไร้สายเพิ่มขึ้นที่อาคารประกอบ 1 อาคารประกอบ 2 และพื้นที่ทั้งหมดใต้หอประชุมใหม่

ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้จัดทำโครงการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้ดำเนินการ 2 กิจกรรม คือ 1. ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. กิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายของอุปกรณ์และการสูญหายของข้อมูล โดยได้จัดซื้อ อุปกรณ์ Core Switching จำนวน 1 ชุด และอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว

         พ.ศ. 2553  ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยจำนวน 7 ระบบได้แก่  ฐานข้อมูลการเงินและงบประมาณ ฐานข้อมูลครุภัณฑ์และการใช้ทรัพยากร ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลนักศึกษา หลักสูตรและศิษย์เก่า ฐานข้อมูลการบริหารโครงการ ฐานข้อมูลงานวิจัย ฐานข้อมูลห้องสมุด และระบบ e-document  จำนวน 1 ระบบ และจะมีการใช้ระบบ e-Document ภายในเดือนพฤษภาคม 2554 เพื่อทดแทนระบบ e-office เดิมที่มีปัญหา 

          ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้ยกเลิกสัญญาการเช่าลิงค์ของบริษัททีโอที(มหาชน) จำกัดและบริษัททริเปิลทีอินเทอร์เน็ตจำกัด โดยได้ทำสัญญาเช่าวงจรสื่อสารใหม่กับบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ความเร็ว 14 Mbps พร้อมเช่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลการจราจรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Log File) ของทางบริษัทฯ พร้อมนี้บริษัทได้ดำเนินการอัพเกรดชุดซอฟต์แวร์ อัพเกรด Fortigate Firewall ให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

โครงการเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  2555  (โครงการ SP2) ได้นำอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาติดตั้งห้องระบบเครือข่ายเพื่อให้บริการสัญญาณอินเทอร็เน็ตกับหน่วยงานการศึกษาที่เข้าโครงการ 

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (Uninet) ได้เชื่อมต่อวงจรสื่อสารอินเทอร์เน็ตแก่มหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นโหนดจังหวัดในอัตราความเร็ว 1 Gbps

          พ.ศ. 2554 ศูนย์คอมพิวเตอร์ได้รับอนุมัติโครงการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีงบประมาณ 1,500,000 บาท ซึ่งมีการปรับปรุงอุปกรณ์เชื่อมต่อภายใน (Network Backbone)ปรับปรุงอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเครือข่าย (Network Security) และขยายเครือข่ายไร้สายเพิ่มขึ้น อีกทั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการปรับปรุงระบบโทรศัพท์เดิมจากระบบอานาลอกไปเป็นระบบ Voice Over IP (VoIP) เพื่อปรับปรุงระบบสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบโทรศัพท์แบบ IP Phone จำนวน 130 เลขหมาย และระบบ IP Soft Phone จำนวน 10 เลขหมาย โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,205,700 บาท

         พ.ศ.2555 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้นำอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาติดตั้งห้องระบบเครือข่ายเพื่อให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตกับหน่วยงานการศึกษาที่เข้าโครงการ (SP2) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (Uninet) ได้ติดตั้งวงจรสื่อสารอินเทอร์เน็ตแก่มหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นโหนดจังหวัดในอัตราความเร็ว 1 Gbps 

         พ.ศ.2556 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้รปรับปรุงห้องศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) จำนวน 1 ห้อง ภายในห้องประกอบด้วย เครื่องแม่ข่ายคอมพิวเตอร์ (Server) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก (Storage) อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย (Firewall) อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log file) อุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) ระบบไฟฟ้าหลักและระบบไฟฟ้าสำรอง ตู้จัดเก็บอุปกรณ์เครือข่าย และระบบกล้องวงจรปิด (Clesed-Circuit Television : CCTV) ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบบุคคลที่เข้าปฏิบัติงานภายในห้องศูนย์กลางข้อมูล

         พ.ศ.2558 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ได้ย้ายสำนักงานจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ (อาคาร20) ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นอาคาร 25 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา